ประวัติ และความเป็นมา
สมาคมผู้ผลิตยาสมุนไพรเดิมมีชื่อว่า “สมาคมผู้ผลิตยาและขายยาแผนโบราณ” เกิดจากการรวมตัวกันของผู้ประกอบการภาคเอกชน และได้รับการจดทะเบียนในวันที่ 13 มิถุนายน 2528 โดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อประสานงานกับภาครัฐ ในการพัฒนายาสมุนไพรและยาแผนโบราณของประเทศไทย ให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพที่ดี เพื่อผลประโยชน์ต่อผู้บริโภคเป็นสำคัญ และมีนายกสมาคมคนแรกคือ “นายเจริญสุข กิจอิทธิ” ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ถึง 15 ปี ก่อนจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกกิตติมศักดิ์ในปัจจุบัน
ในปีพุทธศักราช 2544 ของทางคณะกรรมการได้มีความเห็นร่วมกันในการที่จะเร่งพัฒนาและส่งเสิรมผู้ประกอบการในประเทศไทยให้สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการจากต่างประเทศในยุคการค้าเสรีได้ จึงได้ร่วมประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งภาครัฐในการจัดกิจกรรมส่งเสริมในภาคการผลิต การเงิน การตลาด และด้านอื่น ๆ รวมทั้งยังได้ทำการเปลี่ยนชื่อของสมาคมฯ ให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ในขณะนั้นมากขึ้นจาก “สมาคมผู้ผลิตยาและขายยาแผนโบราณ” เป็น “สมาคมผู้ผลิตยาสมุนไพร” (สยส.) หรือในภาษาอังกฤษว่า “HERBAL PRODUCTS ASSOCIATION” (HPA)
สมาคมผู้ผลิตยาสมุนไพร ได้ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางประสานงานระหว่างผู้ประกอบการผลิตยาแผนโบราณกับทางภาครัฐ โดยกระทรวงสาธารณสุขเพื่อการพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการให้ยาแผนโบราณ มีคุณภาพที่ดี เพื่อผลประโยชน์ต่อผู้บริโภคเป็นสำคัญ พร้อมสนองนโยบายและความร่วมมือกับองค์กรและภาครัฐ
วัตถุประสงค์
- เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ ประสบการณ์ และข่าวสารในหมู่สมาชิก
- อนุรักษ์และส่งเสริมการผลิตยาสมุนไพรให้คงอยู่ต่อไป
- ส่งเสริมและพัฒนาวิชาการและมาตรฐานการผลิตยาสมุนไพรให้มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภค
- ร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ เพื่อสาธารณประโยชน์
- ไม่ดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับการค้า
- ไม่ดำเนินการใดๆ เกี่ยวข้องกับการเมือง
จำนวนสมาชิก
ประมาณ 180 โรงงาน ส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพและปริมณฑล จากจำนวนโรงงานที่ขึ้นทะเบียนกับ อย.ทั่วประเทศทั้งหมด 800 กว่าโรงงาน
แผนพัฒนาระบบยาสมุนไพร
สำหรับแผนการพัฒนาสมุนไพรไทยขับเคลื่อนโดย 3 กระทรวงหลัก ได้แก่
กระทรวงสาธารณสุข ทำหน้าที่ดูแลในเรื่องการสร้างความเชื่อมั่นในคุณค่าและคุณภาพของสมุนไพรไทย สนับสนุนการสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร และลดความยุ่งยากในการขออนุญาตผลิตของผู้ประกอบการ
กระทรวงพาณิชย์ ดูแลรับผิดชอบเรื่องการเพิ่มช่องทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ การจับคู่เจรจาธุรกิจ การออกงานแสดงสินค้า การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการสู่ตลาดต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เดินหน้าขยายพื้นที่ปลูกพืชสมุนไพรแบบอินทรีย์ เพื่อให้ได้วัตถุดิบที่ปลอดสารพิษ สามารถขายได้ราคาดีขึ้น รวมถึงส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มเป็นแปลงใหญ่พืชสมุนไพร เพื่อจะได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้แบบครบวงจรภายใต้หลักสูตรที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ดำเนินการและความต้องการของเกษตรกร
ผลงานของสมาคม
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คณะกรรมการและสมาชิก ภายใต้การนำของนายกสมาคมในแต่ละสมัยได้ร่วมกันสร้างผลงานอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม และต่อวงการผู้ผลิตยาแผนโบราณ และยาจากสมุนไพรหลายประการ นอกจากการประชุมและสัมนาวิชาการซึ่งได้จัดขึ้นเป็นประจำ ปีละ 1-2 ครั้งแล้ว ยังได้ร่วมมือกับภาครัฐในการปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบและส่งเสริมวิชาการปลายประการเช่น
1. ร่วมเป็นผู้ทำงานภาคเอกชนเพื่อรับการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ในกลุ่มผลิตภัณฑ์สุขภาพ และข้อกำหนด (ACCSQ)
2. ร่วมเป็นคณะทำงานภาคเอกชนในงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549
3. ร่วมมือกับทางราชการในการยกร่าง และประกาศใช้หลักเกณฑ์การผลิตยาที่ดีจากสมุนไพร (GMP) รวมทั้งจัดทำคู่มือการปฏิบัติพร้อมแผ่น CD โดยค่าใช้จ่ายของสมาคมและยกสิทธิให้แก่สำนักงาน อย.
4. ร่วมเดินทางต่างประเทศ ในการขยายตลาดผลิตสมุนไพรระหว่างประเทศ กับคณะผู้แทนการค้าไทย
5. ร่วมนำเสนอแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขันต่อนายกรัฐมนตรี โดยการสนับนุนของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) และหน่วยงานวิชาการ เช่น คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
6. ร่วมเป็นกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมสมุนไพร
7. ร่วมกับภาคีสมุนไพรครบวงจร โดยการสนับสนุนขององค์การเภสัชกรรม และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (สสว) จัดตั้งร้าน Thai Herb Health
8. เป็นองค์กรสมาชิกสภาหิการค้าแห่งประเทศไทย
9. เป็นตัวแทนวงการยาแผนโบราณภาคเอกชนในการยื่นฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้ยกเลิกสิทธิบัตรเลขที่ 8912 องค์ประกอบสมุนไพรจากกวาวเครือ ซึ่งทับซ้อนกับการประกอบยาไทยแผนโบราณที่ได้ลิตมายาวนานแล้ว ผล : ศาลให้เพิกถอนสิทธิบัตร
10. ร่วมกับสถาบันการแพทย์แผนไทย จัดทำเครือข่าย “ร้านไทย”
11. รวบรวม “สรรพศาสตร์ของสมุนไพรที่ควรรู้” ให้อาจารย์ไพบูลย์ แก้วกาญจน์
12. จัดทำรายการยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ เพิ่มเติมจากเดิม 27 รายการ
13. ชะลอการให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
14. ร่วมกับสถาบันการแพทย์แผนไทยจัดงาน ชุมนุมแพทย์แผนไทยและสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 1 โดยสมาคมได้มอบเงินให้สถาบันการแพทย์แผนไทย 1 ล้านบาท
15. ร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในกลุ่มอุตสาหกรรมยา
16. ให้ยาแผนโบราณพัฒนารูปแบบการผลิตได้หลากหลายขึ้น เช่นการสกัดโดยวิธีพ่นแห้ง (Spray Dry)
17. ให้ยาผงบรรจุในแคปซูลได้
18. ให้ อย. อนุญาตให้ใส่สารกันบูดในยาน้ำในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มีอันตราย
รายนามนายกสมาคม
สมัยที่ 1 – 5 พ.ศ. 2530 – 2539 คุณเจริญสุข กิจอิทธิ บริษัท เจริญสุขเภสัช (ฮุ่นซิว) จำกัด
สมัยที่ 6 พ.ศ. 2540 – 2541 คุณชวน ธรรมสุริยะ บริษัท คั้นกี่น้ำเต้าทอง จำกัด
สมัยที่ 7 พ.ศ. 2542 – 2543 คุณเจริญสุข กิจอิทธิ บริษัท เจริญสุขเภสัช (ฮุ่นซิว) จำกัด
สมัยที่ 8 – 9 พ.ศ. 2544 – 2547 คุณวัชรพงษ์ พงษ์บริบูรณ์ ห้างหุ้นส่วน ขาวละออเภสัช จำกัด
สมัยที่ 10 – 11 พ.ศ. 2548 – 2551 คุณไพศาล เวชพงศา บริษัท แสงสว่างตราค้างคาว จำกัด
สมัยที่ 12 พ.ศ. 2552 – 2553 ภก.วิวัฒน์ ชัยวัฒนเมธิน ห้างหุ้นส่วน ชาเขียว จำกัด
สมัยที่ 13 – 14 พ.ศ. 2554 – 2557 คุณวัชรพงษ์ พงษ์บริบูรณ์ บริษัท ขาวละออเภสัช จำกัด
สมัยที่ 15 – 18 พ.ศ. 2558 – 2565 คุณเมธา สิมะวรา บริษัท ห้าตะขาบ (ซิมเทียนฮ้อ) จำกัด
สมัยที่ 19 – ปัจจุบัน พ.ศ.2566 – ปัจจุบัน ภก.ศรัณย์ แจ้วจิรา บริษัท แก้วมังกรเภสัช จำกัด
คณะกรรมการชุดปัจจุบัน
1.นายศรัณย์ แจ้วจิรา
นายกสมาคม
2.นายเมธา สิมะวรา
อุปนายกคนที่ 1
3.นายชัชวาร พงษ์บริบูรณ์
อุปนายกคนที่ 2
4.นายบุญฤทธิ์ กิจเจริญโรจน์
อุปนายกคนที่ 3
5.นายสมเกียรติ จันทร์เทวาลิขิต
อุปนายกคนที่ 4
6.นายพัฒนพงศ์ พัฒนชยนันทน์
อุปนายกคนที่ 5
7.นางสิรินาท อุทิศชลานนท์
อุปนายกคนที่ 6
8.น.ส.ภารดี ปัญญาประเสริฐ
อุปนายกคนที่ 7
9.นายสรวุฒิ บุญวรพัฒน์
อุปนายกคนที่ 8และเลขานุการ
10.นายพจน์ เวชพงศา
กรรมการ
11.นายชิน ไหลประสิทธิชัย
กรรมการ
12.นางสาวทิพภา ปาละกูล
กรรมการและนายทะเบียน
13.นายชนรรค์ สมบูรณ์เวชชการ
กรรมการและปฎิคม
14.นายอิศรา อัคคะประชา
กรรมการและประชาสัมพันธ์
15.น.ส.นงนุช ประเวสพิชัย
กรรมการและเหรัญญิก